วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552

DTS 11-16/09/52

Summary B4 Final


ทรี (Tree)
เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ความสัมพันธ์
ระหว่าง โหนดจะมีความสัมพันธ์ลดหลั่นกันเป็นลำดับ
ชั้น (Hierarchical Relationship)เช่น แผนผังองค์ประกอบของหน่วยงานต่าง ๆ
โครงสร้างสารบัญหนังสือ เป็นต้น

การท่องไปในไบนารีทรี
วิธีการท่องเข้าไปต้องเป็นไปอย่างมีระบบแบบ
แผน สามารถเยือนโหนดทุก ๆ โหนด ๆ ละหนึ่งครั้ง
วิธีการท่องไปในทรีรี 6 วิธี คือ NLR LNR LRN NRL RNL และ RLN
แต่วิธีการท่องเข้าไปไบนารีทรีที่นิยมใช้กันมากเป็นการท่องจากซ้ายไปขวา 3 แบบแรก
เท่านั้นคือ NLR LNR และ LRN ซึ่งลักษณะการนิยามเป็นนิยามแบบ รีเคอร์ซีฟ(Recursive) ซึ่งขั้นตอนการท่องไปในแต่ละแบบมีดังนี้


1. การท่องไปแบบพรีออร์เดอร์
(Preorder Traversal)
เป็นการเดินเข้าไปเยือนโหนดต่าง ๆ ในทรีด้วยวิธี
NLR มีขั้นตอนการเดินดังต่อไปนี้
(1) เยือนโหนดราก
(2) ท่องไปในทรีย่อยทางซ้ายแบบพรีออร์เดอร์
(3) ท่องไปในทรีย่อยทางขวาแบบพรีออร์เดอร์

2.การท่องไปแบบอินออร์เดอร์
(Inorder Traversal)
เป็นการเดินเข้าไปเยือนโหนดต่าง ๆ
ในทรีด้วยวิธี LNR
มีขั้นตอนการเดินดังต่อไปนี้
(1) ท่องไปในทรีย่อยทางซ้ายแบบอินออร์เดอร์
(2) เยือนโหนดราก
(3) ท่องไปในทรีย่อยทางขวาแบบอินออร์เดอร์

3. การท่องไปแบบโพสออร์เดอร์
(Postorder Traversal)
เป็นการเดินเข้าไปเยือนโหนดต่าง ๆ
ในทรีด้วยวิธี LRN มีขั้นตอนการเดินดังต่อไปนี้
(1) ท่องไปในทรีย่อยทางซ้ายแบบโพสต์ออร์เดอร์
(2) ท่องไปในทรีย่อยทางขวาแบบโพสต์ออร์เดอร์
(3) เยือนโหนดราก

ไบนารีเซิร์ชทรี
ไบนารีเซิร์ชทรี (Binary Search Tree)
เป็นไบนารีทรีที่มีคุณสมบัติที่ว่าทุก ๆ โหนด
ในทรี ค่าของโหนดรากมีค่ามากกว่าค่าของทุก
โหนดในทรีย่อยทางซ้าย และมีค่าน้อยกว่า
หรือเท่ากับค่าของทุกโหนดในทรีย่อยทางขวา
และในแต่ละทรีย่อยก็มี คุณสมบัติเช่นเดียวกัน

กราฟที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
อาจจะใช้วิธีแอดจาเซนซีลิสต์
(Adjacency List) ซึ่งเป็นวิธีที่คล้ายวิธี
จัดเก็บกราฟด้วยการเก็บโหนดและพอยน์
เตอร์ แต่ต่างกันตรงที่ จะใช้ ลิงค์ลิสต์แทน
เพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงแก้ไข
การท่องไปในกราฟ
1. การค้นหาแบบกว้าง (Breadth-first Search)
2. การค้นหาแบบลึก (Depth-first Search)

กราฟ มีน้ำหนัก หมายถึง กราฟที่ทุก
เอดจ์ มีค่าน้ำหนักกำกับ ซึ่งค่าน้ำหนักอาจสื่อถึง
ระยะทาง เวลา ค่าใช้จ่าย เป็นต้น นิยมนำไปใช้
แก้ปัญหาหลัก ๆ 2 ปัญหา คือ
1. การสร้างต้นไม้ทอดข้ามน้อยที่สุด
(Minimum Spanning Trees :MST)
2. การหาเส้นทางที่สั้นที่สุด(Shortest path)

Sorting
การเรียงลำดับแบบเร็ว (quick sort)
เป็นวิธีการเรียงลำดับที่ใช้เวลาน้อยเหมาะสำหรับข้อมูลที่มีจำนวนมากที่ต้องการความรวดเร็ว
ในการทำงาน วิธีนี้จะเลือกข้อมูลจากกลุ่มข้อมูลขึ้นมาหนึ่งค่าเป็นค่าหลัก แล้วหาตำแหน่งที่ถูกต้อง
ให้กับค่าหลักนี้ เมื่อได้ตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว ใช้ค่าหลักนี้เป็นหลักในการแบ่งข้อมูลออกเป็นสองส่วน
ถ้าเป็นการเรียงลำดับจากน้อยไปมาก ส่วนแรกอยู่ในตอนหน้าข้อมูล ทั้งหมดจะมีค่าน้อยกว่าค่าหลักที่เป็นตัวแบ่งส่วน
อีกส่วนหนึ่งจะอยู่ในตำแหน่งตอนหลังข้อมูลทั้งหมด จะมีค่ามากกว่าค่าหลัก แล้วนำแต่ละ
ส่วนย่อยไปแบ่งย่อยในลักษณะเดียวกันต่อไปจนกระทั่งแต่ละส่วนไม่สามารถแบ่งย่อยได้อีก
ต่อไปจะได้ข้อมูลที่มีการเรียงลำดับตามที่ต้องการถ้าเป็นการเรียงลำดับจากน้อยไปมากการเปรียบเทียบเพื่อหาตำแหน่งให้กับค่าหลัก
ตัวแรกเริ่มจากข้อมูลในตำแหน่งแรกหรือสุดท้ายก็ได้ถ้าเริ่มจากข้อมูลที่ตำแหน่งที่ 1 เป็นค่าหลัก พิจารณา
เปรียบเทียบค่าหลักกับข้อมูลในตำแหน่งสุดท้ายถ้าค่าหลักมีค่าน้อยกว่าให้เปรียบเทียบกับข้อมูลในตำแหน่งรอง
สุดท้ายไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะพบค่าที่น้อยกว่าค่าหลัก แล้วให้สลับตำแหน่งกัน
หลังจากสลับตำแหน่งแล้วนำค่าหลักมาเปรียบเทียบกับข้อมูล ในตำแหน่งที่ 2, 3,
ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะพบค่าที่มากกว่าค่าหลักสลับตำแหน่งเมื่อเจอข้อมูลที่มากกว่าค่าหลัก ทำ
เช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งได้ตำแหน่งที่ถูกต้องของค่าหลักนั้น ก็จะแบ่งกลุ่มข้อมูลออกเป็นสอง
ส่วน ส่วนแรกข้อมูลทั้งหมดมีค่าน้อยกว่าค่าหลักและส่วนที่สองข้อมูลทั้งหมดมีค่ามากกว่าค่าหลัก

การค้นหาข้อมูล (Searching)
การค้นหา คือการใช้วิธีการค้นหากับโครงสร้างข้อมูล เพื่อดูว่าข้อมูลตัวที่
ต้องการถูกเก็บอยู่ในโครงสร้างแล้วหรือยัง การค้นหาข้อมูลทำเพื่อดูรายละเอียดเฉพาะข้อมูลส่วนที่ต้องการ ดึงข้อมูลที่ค้นหาออกจากโครงสร้าง เปลี่ยนแปลงแก้ไขรายละเอียดข้อมูลตัวที่ค้นพบ หรือเพิ่มข้อมูลตัวที่ค้นพบแล้วพบว่ายังไม่เคยเก็บไว้ในโครงสร้างเลยเข้าไปเก็บไว้ในโครงต่อไป


วิธีการค้นหาข้อมูล
1. การค้นหาแบบเชิงเส้นหรือการค้นหาตามลำดับ(Linear)เป็นวิธีที่ใช้กับข้อมูลที่ยังไม่ได้เรียงลำดับ
หลักการ คือ ให้นำข้อมูลที่จะหามาเปรียบเทียบกับข้อมูลตัว
แรกในแถวลำดับ
ถ้าไม่เท่ากันให้เปรียบเทียบกับข้อมูลตัวถัดไป
ถ้าเท่ากันให้หยุดการค้นหา หรือการค้นหาจะหยุดเมื่อพบ
ข้อมูลที่ต้องการหรือหาข้อมูลทุกจำนวนในแถวลำดับแล้วไม่พบ
2. การค้นหาแบบเซนทินัล (Sentinel)เป็นวิธีที่การค้นหาแบบเดียวกับวิธีการค้นหาแบบเชิงเส้น
แต่ประสิทธิภาพดีกว่าตรงที่เปรียบเทียบน้อยครั้งกว่า พัฒนามาจากอัลกอริทึมแบบเชิงเส้น
หลักการ1) เพิ่มขนาดของแถวลำดับ ที่ใช้เก็บข้อมูลอีก 1 ที่
2) นำข้อมูลที่จะใช้ค้นหาข้อมูลใน Array ไปฝากที่ต้นหรือ ท้าย
Array
3) ตรวจสอบผลลัพธ์จากการหา
โดยตรวจสอบจากตำแหน่งที่พบ ถ้าตำแหน่งที่พบมีค่าเท่ากับ n-1
แสดงว่าหาไม่พบ นอกนั้นถือว่าพบข้อมูลที่ค้าหา

3. การค้นหาแบบไบนารี (Binary Search)
การค้นหาแบบไบนารีใช้กับข้อมูลที่ ถูกจัดเรียงแล้วเท่านั้น
หลักการของการค้นหาคือ ข้อมูลถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน
แล้วนำค่ากลางข้อมูลมาเปรียบเทียบกับคีย์ที่ต้องการหา
1.หาตัวแทนข้อมูลเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับค่าที่ต้องการค้น
ตำแหน่งตัวแทนข้อมูลหาได้จากสูตร
mid = (low+high)/2
mid คือ ตำแหน่งกลาง ,low คือ ตำแหน่งต้นแถวลำดับ
high คือ ตำแหน่งท้ายของแถวลำดับ
2.นำผลการเปรียบเทียบกรณีที่หาไม่พบมาใช้ในการค้นหารอบต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น